top of page

วิเคราะห์ความดราม่า ของเหยือกพลาสติก PET บรรจุเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

โดยคนไม่ดื่มแอลกอฮอล์

- เบียร์สด บรรจุเหยือก PET ผิดกฎหมายไหม
คำตอบชัดเจน ไม่ทราบ คนค้า คนดื่ม นักกฎหมายว่ากันเอาเอง เท่าที่เห็นก็ได้แต่แสดงความรู้กันผ่าน Internet จนไม่รู้จะเชื่อใครที่รู้ๆ นักดื่มกำลังจะลงแดงตาย ผู้เขียนไม่ดื่ม เลยไม่เกี่ยว

- ใครเดือดร้อนกับเรื่องเบียร์สด Delivery
ไม่มีเบียร์ดื่ม ใครเดือดร้อนมากที่สุด อันนี้เชื่อว่าช่วง Covid-19 ชาวบ้านที่ตกงาน คงไม่เดือดร้อนเพราะไม่ได้ดื่มเบียร์หรอก แค่ข้าวปลาอาหาร จะหาเงินมาซื้อ เจือจุนคนในครอบครัว และตัวเองนั้น มันแสนจะยากแล้ว
ตอนนี้คนเดือดร้อนเรื่องการดื่ม ก็คงเป็นคนที่ยังไม่ตกงาน และมีเงิน จะว่ากันตามสภาพแล้ว ผู้ผลิตและผู้ค้า น่าจะเดือดร้อนกันสุดๆ เพราะช่วงนี้ขายไม่ได้ โรงงานที่หมักเบียร์อยู่ดีๆ จะบอกให้ขบวนการหมักหยุดชั่วคราวคงไม่ได้ เพราะกำลังเล่นกับสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ และวัตุดิบที่เน่าเสียได้ แถมสต๊อกวัตถุดิบที่เก็บไว้ ยิ่งเก็บก็ยิ่งเสื่อม เวลานำมาใช้มันคงทำให้รสเบียร์เพี้ยนไปหมด โรงงานผลิตมีคน มีเครื่องจักร มีพื้นที่เท่าไรล่ะ ค่าใช้จ่ายหยุดเสียที่ไหน ยิ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ว่าที่ไหน มูลค่าทรัพย์สินหายวูบ เงินปันผลก็คงยับเยินตามไปด้วย
ผู้ค้า ไม่มีรายได้แน่ๆ งานนี้มีแรงงานเกี่ยวข้องเยอะ ทรัพยากรก็เยอะ รายจ่ายไม่เคยหยุด
ความ Drama ที่นำมาโจมตีกัน ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก เราจะทำได้ไหม ใครจะมาจับฉันไปดำเนินคดีไหม ว่ากันไป ว่ากันมา น้ำหนักที่ให้คงเป็นประเภท ทำไมเองทำได้ แล้วทำไมข้าทำไม่ได้ หรือ แล้วถ้าข้าจะทำบ้างใครจะมาหาเรื่องเอาฉันเข้าคุกหรือเปล่า

- รสของเครื่องดื่มเปลี่ยนไหม
ภาชนะเหยือก PET ทำให้รสชาติ เครื่องดื่มเสียไปหรือไม่ คำถามนี้เริ่มต้นจากการถามตัวเองว่า น้ำเปล่าที่บรรจุขวด PET ให้เราดื่ม มันแย่ขนาดไหนล่ะ จะให้หนักไปกว่านั้น น้ำอัดลมได้เปลี่ยนจากขวดแก้วมาเป็นขวด PET รสมันเปลี่ยนไหม สิ่งที่พบได้ก็คือเก็บไปนานๆ แกส CO2 มันจะลดน้อยลง เพราะมันสามารถลอดออกมาตามช่องว่างระหว่างเนื้อ PET ได้ ทำให้ความซ่าสะใจลดตามไปด้วย
ประเด็นน่าสังเกต คือ สมัยก่อนเขาใช้ขวดแก้วบรรจุน้ำอัดลม ที่ฝามีโฟมกันแกส จริงๆ แล้วแกสมันยังซึมออกมาได้นะ ตอนเด็กๆ เคยเจอน้ำอัดลมเก่าเก็บ เอาชิมดู มันซ่าน้อยกว่าขวดใหม่เยอะ ฝาขวดน้ำอัดลมที่เป็นแก้วนี้เป็นฝาจีบที่ทำจากเหล็กเคลือบสี ขบวนการผลิตนั้นต้องเคลือบสีก่อน แล้วจึงตัดออกเป็นชิ้นก่อนนำมาปิด ส่วนที่ตัดมันไม่มีสีเคลือบ เก็บนานหน่อยจะมีสนิมแดงๆ ปรากฏขึ้น บางทีเปิดออกมาสนิมติดปากขวด เอาผ้าเช็ดก็ไม่หมด เวลาดื่มหากไม่ใช้หลอด ดื่มแบบยกขวด อันนี้อันตรายหรือเปล่า เป็นข้อสงสัยเหมือนกัน แต่ไม่เห็นใครตาย หรือมีใครออกมาเตือน หลายครั้ง หลายกรณีผู้คนก็ดื่มกันแบบนั้น
มากไปกว่านั้น มีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนจากขวดแก้วมาเป็น PET กันเป็นว่าเล่น ตั้งแต่ น้ำปลา ซอส แม้แต่น้ำปลาร้า มันจะสร้างพิษ หรือทำให้เสียรสไปจากต้นกำเนิดไหม

- UV ทำลายคุณภาพเครื่องดื่ม
ความใสของภาชนะ ทำให้แสง UV (Ultraviolet) ผ่านไปทำลายคุณภาพของเครื่องดื่ม ก็น่าจะจริง เพราะ UV ทำลายได้สาระพัด อะไรต่อมิอะไรเจอ UV ไปนานๆ ออกสีเหลือง แล้วรสของอาหารก็เปลี่ยน แล้วน้ำอัดลมล่ะเป็นไง เห็นทำขวดใสแจ๋วทุกราย
ขวดใส บรรจุเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่ะ เป็นอย่างไร ที่แน่ๆ ขวด Vodka หรือ Whisky ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอะไร มันใสหมด ทำไม และทำไม
แต่หากจะวิจารณ์ความ Drama ของการบรรจุเบียร์ มีข้อสังเกตว่าเบียร์ปกติ ใส่ขวดสีชา แต่หากบรรจุเบียร์สด แล้วปิดผนึกแน่นหนา มีใครบรรจุแล้วตั้งตากแดดตากลมล่ะ มันอยู่ในตู้เย็นทั้งนั้น ซึ่งในนั้นมันมืด แสงไฟในตู้เย็นจะสว่างเฉพาะตอนเปิดตู้เท่านั้น เพราะเหตุผลว่าอุณหภูมิ 4 องศา จะทำให้น้ำหดตัวมากที่สุด และสามารถเก็บกักแกสได้ดีที่สุดด้วย อย่าลืมว่าแกสก็หดตัวด้วย แถมหดตัวมากกว่าเวลาอุณหภูมิลดลง เวลาส่งเบียร์กันไม่ว่าจะดื่มตรงไหนก็ต้องเย็นเสมอ บ้านเราชอบแบบเป็นวุ้นจะตาย ทีนี้เบียร์สดเก็บได้แค่ 3 วัน เขาว่ากันมานะ ถ้าเกินเห็นว่ารสมันจะเปลี่ยน และไม่อร่อย ตอนที่เก็บแสงก็ไม่โดน แถมเวลาแค่ 3 วัน มันจะทำให้คุณภาพ หรือรสเบียร์เปลี่ยนไปได้อย่างไร ความเป็นไปได้มันแสนจะน้อย ส่วนแกสเองก็ถูกกักไว้ด้วยฝาที่ปิดเสียสนิท มันคงไม่ได้หนีออกไปมากกว่าการออกจากหัวจ่าย แล้วนำไปเสริฟที่โต๊ะล่ะมั้ง
เรื่องที่เราเรียนมาสมัยมัธยม เราก็รู้อยู่ว่าการลดอุณหภูมิให้ต่ำลงมากๆ จะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เราเรียกว่า Bacteria ได้ หากเราเก็บอะไรที่แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่อุณหภูมิต่ำ มันก็ควรคงคุณภาพให้เสื่อมลงช้า จะมีข้อโต้แย้งบ้าง เช่นเก็บหมูในช่องแช่แข็ง เอามาทำอาหารจะไม่อร่อย ต้องซื้อจากตลาดสดๆ ทำสด ไม่รู้ชาตินี้หาที่ไหนได้อีก เวลาเปลี่ยน วิธีการทำการค้าก็เปลี่ยน ไปตลาดหมูสดยังเอามาจากตู้แช่แข็งไปขึ้นแผงเลย
เอาล่ะคนเขียนไม่ได้ดื่ม ไม่ได้เป็นนักดื่มด้วย ไปตอบกันเองก็แล้วกัน แต่ที่แน่ๆ ผู้เขียนชอบทำอาหารครั้งละมากๆ แบบกินกัน 20 คน แล้วแช่แข็งไว้ในตู้เย็น เก็บไว้กินหลายๆ มื้อ จะได้ไม่ต้องทำทุกมื้อ ประหยัดเวลา และค่าแกสจะตายไป

- ความอันตรายของภาชนะบรรจุ
หากภาชนะบรรจุที่ทำจาก PET ตีความว่าไม่ได้มาตรฐาน เป็นพิษ หรืออันตรายอย่างไรก็แล้วแต่ ก็สามารถอ่านได้จากข้อมูลอ้างอิงท้ายบทความนี้ ซึ่งมีเผยแพร่ใน Internet เต็มไปหมด
นอกจากนี้ยังเห็นเขาทำขวดวอดก้า (Vodka) จาก PET หน้าตาเฉย

- ข้อมูลอ้างอิง



ดู 215 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


เพิ่มมูลค่าของสินค้า

รีวิวจากผู้ใช้งานจริง

เมื่อได้เป็นลูกค้าของ LAZ-Step

มาดูความรู้สึกของผู้คนที่ชื่นชอบ LAZ-Step และดูว่าเราได้เปลี่ยนแปลงสินค้าของพวกเขาในด้านในบ้าง

ขอซื้อตัวอย่างฟรีด่วน คลิก!

เส้นทางการเติบโตของเรา

ทำไม LAZ-Step คือคำตอบที่ดีที่สุด

1.png

10 ปี ยกระดับคุณภาพ

ในอุตสาหกรรม
กระป๋องพลาสติก PET

2.png

ลูกค้ากว่า 10,000+ แบรนด์

ไว้ใจให้ลาซสเตปดูแล