Search Results | Lazstep
top of page

Search Results

พบ 134 รายการสำหรับ ""

โพสต์ในบล็อก (16)

  • ซองปล่อยเอทานอล ยืดอายุขนม อาหาร และ เบเกอรี่คงรสชาติให้นานขึ้น

    ด้วยคุณสมบัติของเอทานอล ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ (โดยเฉพาะเชื้อรา) ซองปล่อยเอทานอลจึงมีประสิทธิภาพในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่เน่าเสียจากเชื้อราได้ง่าย เช่น ขนมปัง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เป็นต้น ช่วยรักษาความนุ่มชุ่มชื้นในอาหาร ทำให้ขนมปัง เบเกอรี่ ขนมเปี๊ยะ โดรายากิ ชิฟฟอน เค้กเนยสด ไม่แห้ง แข็ง กระด้าง หลักการ ซองปล่อยเอทานอล สำหรับใส่ไว้ภายในบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ โดยจัดอยู่ในประเภทวัตถุเจือปนอาหาร ลักษณะเป็นซองขนาดเล็กทำจากฟิล์มชนิดพิเศษที่บรรจุเอทานอลไว้ภายใน เมื่อนำซองนี้ใส่ไว้ภายในบรรจุภัณฑ์อาหารที่ปิดสนิท เอทานอลจะถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆ เป็นการปรับสภาวะภายในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา มีประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราได้อย่างดีเยี่ยม จึงสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารได้ และยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย ส่วนประกอบของซองปล่อยเอทานอล คือเอทานอลที่ผสมกับผงซิลิกา (ซิลิกอนไดออกไซด์) บรรจุในซอง ตัวซอง เป็นชนิดโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET) ซึ่งมีความคงทนต่อน้ำและน้ำมัน วิธีการใช้งาน ใส่ซองปล่อยเอทานอล ลงภายในบรรจุภัณฑ์อาหาร ปิดปากถุงหรือกระป๋องให้สนิท ผลิตภัณฑ์นี้จะค่อย ๆ ปล่อยเอทานอลออกมาเป็นไอระเหยทีละน้อยจนในบรรจุภัณฑ์กระจายเต็มไปด้วยไอระเหยของเอทานอล ไอระเหยดังกล่าวมีประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราได้อย่างดีเยี่ยม จึงสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารได้ *ควรใช้ซองเอทานอลภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากนำออกจากถุง ความปลอดภัยในการใช้งาน ซองปล่อยเอทานอลมีส่วนประกอบที่ไม่เป็นอันตราย ถึงแม้ผู้บริโภคจะเผลอรับประทานเข้าไป แต่เนื่องจากซองปล่อยเอทานอลไม่ใช่อาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงมีการระบุคำเตือนไว้ว่า "ห้ามรับประทาน" บนซอง ในกรณีที่รับประทานซองปล่อยเอทานอลเข้าไปทั้งชิ้น อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บในระบบทางเดินอาหารจากส่วนมุมซองที่บาดได้ ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยรักษา หากอุ่นอาหารไปพร้อมกับซองปล่อยเอทานอล ซองปล่อยเอทานอลสามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง มีความปลอดภัยแม้นำไปอุ่นกับอาหาร ส่วนประกอบของซองปล่อยเอทานอลมีความปลอดภัยและใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ รอยซีลของซองแอลโวอาจขาดได้เมื่อถูกความร้อน กรุณานำซองปล่อยเอทานอลออกจากบรรจุภัณฑ์อาหารก่อนอุ่นอาหาร หากรอยซีลของขาดเนื่องจากความร้อน ให้ระมัดระวังอย่าให้วัตถุข้างในซองรั่วออกมาและ ควรกำจัดทิ้ง (หากวัตถุข้างในรั่วออกมา จะทำให้อาหารมีลักษณะและรสชาติเปลี่ยนไป ไม่ควรนำอาหารมารับประทาน) กรณีที่เก็บอาหารพร้อมกับซองปล่อยเอทานอลในตู้เย็นหรือแช่แข็ง ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด หากนำแอลโวไปแช่เย็นหรือแช่แข็ง ทั้งนี้ การปลดปล่อยของเอทานอลจะช้ากว่าปกติหรือหยุดทำงานชั่วคราว ซึ่งการที่อุณหภูมิลดต่ำลงจะทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อราช้าลงด้วย เปรียบเทียบระยะเวลาการเกิดเชื้อราในตัวอย่างขนมที่ใช้และไม่ใช้ ซองปล่อยเอทานอล วิธีการเลือกขนาดซองปล่อยเอทานอล 1) ปริมาณกรัมของซองปล่อยเอทานอลที่ใช้จริงต่อหนึ่งซองบรรจุภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและค่าปริมาณน้ำอิสระ (Water Activity) สามารถอ้างอิงจากแผนภาพด้านล่างที่คำนวณจากน้ำหนักอาหาร 100 กรัม 2) กรณีอาหารมีน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกว่า 100 กรัม สามารถคำนวณตามสูตร ดังนี้ หลังจากเลือกขนาดซองเอทานอลที่เหมาะสมแล้ว ควรบรรจุซองเอทานอลในบรรจุภัณฑ์อาหารที่ใช้จริง เพื่อตรวจสอบคุณภาพและวันหมดอายุของสินค้าว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงสูตร น้ำหนัก หรือ ชนิดบรรจุภัณฑ์ ควรทำการทดสอบอีกครั้ง ซื้อได้ที่ Shopee หรือ Line Official บริษัทค่ะ https://shopee.co.th/product/54481454/11498453225/

  • การแก้ปัญหาการบรรจุน้ำลงในภาชนะปิด แล้วภาชนะเกิดการเสียรูปทรง

    แช่เย็นแล้วกระป๋องบุบทำยังไงดี? เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีป้องกัน หรือแนะนำอะไรบ้างไหม ? คุณสมบัติของน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นมากที่สุดที่อุณหภูมิ 3.98 องศาเซลเซียส เมื่อได้รับความเย็นจนเปลี่ยนเป็นสถานะของแข็ง (กลายเป็นน้ำแข็ง) ในสถานะของแข็งนี้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 9% ซึ่งเป็นสาเหตุของข้อเท็จจริงที่น้ำแข็งลอยน้ำได้ ความหมายคือ หากน้ำมีอุณหภูมิ สูงกว่าหรือต่ำกว่า 3.98 องศาเซลเซียส จะมีปริมาตรที่เพิ่มขึ้นเสมอ หากบบรจุน้ำในภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิปกติ แล้วนำไปแช่เย็นจนถึง 3.98 องศาเซลเซียส ภายในภาชนะจะเกิดภาวะสูญญากาศ เนื่องจากปริมาตรของน้ำลดลง ในทางตรงกันข้าม หากบรรจุน้ำในภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิ 3.98 องศาเซลเซียส แล้วลดอุณหภูมิลงไปอีกจะเหลือ 0 องศาเซลเซียส น้ำก็จะขยายตัว เพิ่มขึ้น 9% ทำให้เกิดแรงดันในภาชนะเพิ่มขึ้น หากภาชนะเป็นของแข็ง และไม่ยืดหยุน (เช่น แก้ว) น้ำก็สามารถดันให้ภาชนะแตกได้ แม้แต่จะเปิดฝาภาชนะไว้ก็ตาม หากเป็นภาชนะโลหะ ที่ขยายตัวได้น้อย การขยายตัวของน้ำก็สามารถทำให้โลหะปริแตกได้เช่นเดียวกัน แนวทางแก้ไขบรรจุน้ำในภาชนะปิดสนิท เพื่อการบริโภคที่อุณหูมิสูงกว่า 3.98 องศาเซลเซียส ก่อนการบรรจุ ควรลดอุณหภูมิน้ำลงในช่วง 3.98-6 องศาเซลเซียส จะทำให้ภาชนะคงตัวอยู่ได้ ไม่เสียรูป แม้อุณหภูมิขณะขนส่งจะเป็นอุณหภูมิปกติตามสภาพแวดล้อมทั่วไป หรือขนส่งภายใต้อุณหภูมิต่ำ สมบัติของน้ำ โครงสร้างโมเลกุลของน้ำ น้ำ 1 โมเลกุล (H2O) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนท์ (Covalent bonds) ซึ่งใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน โดยที่อะตอมทั้งสามตัวเชื่อมต่อกันเป็นมุม 105° โดยมีออกซิเจนเป็นขั้วลบ และไฮโดรเจนเป็นขั้วบวก ดังภาพที่ 1 ภาพที่ 1 โมเลกุลน้ำ น้ำแต่ละโมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน (Hydrogen-bonds) เรียงตัวต่อกันเป็นโครงสร้างจัตุรมุข (Tetrahedral) ดังภาพที่ 2 ทำให้น้ำต้องใช้ที่ว่างมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง ดังนั้นเมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งจะมีความหนาแน่นน้อยลง เมื่อเพิ่มความร้อนให้กับน้ำแข็งพันธะไฮโดรเจนจะถูกทำลาย ทำให้น้ำแข็งละลายเป็นของเหลว และเมื่อโครงสร้างผลึกยุบตัวลงน้ำในสถานะของเหลวจึงใช้เนื้อที่น้อยกว่าของแข็ง นี่คือสาเหตุว่าทำไมน้ำแข็งจึงมีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ ภาพที่ 2 พันธะไฮโดรเจนมีระยะห่าง 177 พิโคเมตร พันธะโควาเลนต์มีระยะห่าง 99 พิโคเมตร ตัวอย่างที่แสดงพันธะไฮโดรเจนที่เห็นได้ชัดคือ แรงตรึงผิวของน้ำ (Surface tension) เราจะเห็นว่า หยดน้ำบนพื้นหรือบนใบบัวมีรูปร่างเป็นทรงกลมคล้ายเลนส์นูน หรือเวลาที่เติมน้ำเต็มแก้ว ผิวน้ำจะพูนโค้งสูงเหนือปากแก้วเล็กน้อย หากปราศจากแรงตรึงผิวซึ่งเกิดจากพันธะไฮโดรเจนแล้ว ผิวน้ำจะเต็มเรียบเสมอปากแก้วพอดี แรงตรึงผิวเป็นคุณสมบัติพิเศษของน้ำ ซึ่งมีมากกว่าของเหลวชนิดอื่น ยกเว้นปรอท (Mercury) ซึ่งเป็นธาตุชนิดเดียวที่เป็นของเหลว แรงตรึงผิวทำให้น้ำเกาะรวมตัวกันและไหลชอนไชไปได้ทุกหนแห่ง แม้แต่รูโหว่และรอยแตกของหิน ด้วยเหตุนี้น้ำจึงเป็นตัวปฏิวัติรูปโฉมของพื้นผิวโลก การเปลี่ยนสถานะของน้ำ ภายใต้ความกดอากาศ ณ ระดับน้ำทะเลปานกลาง น้ำมีสถานะเป็นของเหลว น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส (ไอน้ำ) เมื่อมีอุณหภูมิสูงถึงจุดเดือด (Boiling point) ที่อุณหภูมิ 100°C และเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เมื่ออุณหภูมิลดต่ำถึงจุดเยือกแข็ง (Freezing point) ที่อุณหภูมิ 0°C การเปลี่ยนสถานะของน้ำมีการดูดกลืนหรือการคายความร้อน โดยที่ไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เรียกว่า ความร้อนแฝง (Latent heat) ความร้อนแฝงมีหน่วยเป็น แคลอรี (Calorie) 1 แคลอรี คือปริมาณความร้อนซึ่งทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1°C (ดังนั้นหากเราเพิ่มความร้อน 10 แคลอรี ให้กับน้ำ 1 กรัม น้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 10°C) ภาพที่ 3 พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำ ก่อนที่น้ำแข็งละลาย น้ำแข็งต้องการความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อทำให้น้ำ 1 กรัม เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว น้ำแข็งดูดกลืนความร้อนนี้ไว้โดยยังคงรักษาอุณหภูมิ 0°C คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าน้ำแข็งจะละลายหมดก้อน ความร้อนที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะทำลายพันธะไฮโดรเจนในโครงสร้างผลึกน้ำแข็ง ทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ในทางกลับกันเมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็งก็จะคายความร้อนแฝงออกมา 80 แคลอรี/กรัม เมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ น้ำต้องการความร้อนแฝง 600 แคลอรี เพื่อที่จะเปลี่ยน น้ำ 1 กรัม ให้กลายเป็นไอน้ำ ในทำนองกลับกันเมื่อไอน้ำควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ น้ำจะคายความร้อนแฝงออกมา 600 แคลอรี/กรัม ทำให้เรารู้สึกร้อนก่อนที่จะเกิดฝนตก การเปลี่ยนสถานะของน้ำทำให้น้ำมีสมบัติในการพาความร้อน (Convection) ดังนั้นเมืื่อน้ำเคลื่อนที่ไปตามพื้นผิวโลก ในมหาสมุทร หรือในอากาศ ก็จะพาพลังงานความร้อนไปด้วย ทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวโลกในเวลากลางวันและกลางคืนไม่แตกต่างกันมากนัก โลกจึงมีภาวะที่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิต ความหนาแน่นของน้ำ ภายใต้ความกดอากาศ ณ ระดับน้ำทะเลปานกลาง น้ำจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเมื่อมีอุณหภูมิ 0°C เมื่อพิจารณากราฟในภาพที่ 4 จะเห็นว่าน้ำมีความหนาแน่นสูงสุดที่อุณหภูมิ 4°C และมีสถานะเป็นของเหลว เมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ 0°C น้ำจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9 โดยเราจะเห็นได้ว่า เมื่อใส่น้ำเต็มแก้วแล้วนำไปแช่ห้องแข็ง น้ำแข็งจะล้นออกนอกแก้วหรือดันให้แก้วแตก ในทำนองเดียวกันเมื่อน้ำในซอกหินแข็งตัว มันจะขยายตัวจนทำให้หินแตกเกิดกระบวนการผุพังของหิน (Weathering) ซึ่งทำให้เกิดตะกอน ภาพที่ 4 ความหนาแน่นของน้ำ ณ อุณหภูมิต่างๆ น้ำ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของจักรวาล สสารทั่วไปมีความหนาแน่นมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง แต่น้ำมีความหนาแน่นน้อยลงเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ด้วยเหตุนี้น้ำแข็งจึงลอยอยู่บนน้ำ ถ้าหากน้ำแข็งมีความหนาแน่นกว่าน้ำ เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลง น้ำในมหาสมุทรแข็งตัวและจมตัวลงสู่ก้นมหาสมุทร ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นมหาสมุทรไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นการที่น้ำมีความหนาแน่นน้อยลงเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งจึงเป็นผลดีที่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดต่ำกว่าจุดน้ำแข็ง น้ำแข็งจะเกิดขึ้นบนผิวมหาสมุทร ทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันไม่ให้น้ำทะเลที่อยู่เบื้องล่างสูญเสียความร้อนจนกลายเป็นน้ำแข็งไปหมด สิ่งมีชีวิตจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในท้องทะเลได้อย่างอบอุ่น

  • แนวการออกแบบเครื่องปิดฝากระป๋อง ขนาดเล็ก

    เครื่องปิดฝากระป๋องขนาดเล็ก เครื่องปิดฝากระป๋องขนาดเล็ก ถูกออกแบบให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก(SMEs) ใช้ในการประกอบกิจการ ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้มักทำกิจกรรมทางด้านธุรกิจทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การผลิตสินค้า การหาลูกค้า การเสนอขายสินค้า การจัดส่งไป (ให้ผู้ขายต่อ หรือผู้บริโภค) การจ่าย-การเก็บเงิน การดูแลพนักงาน (หากมี) การดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ทำงานผลิต และอื่นๆ อีกมากมาย การที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กต้องทำงานทุกอย่างเอง เวลาส่วนใหญ่จึงมักใช้ไปกับดูแลความเป็นไปของกิจการ และลูกค้าเป็นสำคัญ นอกจากนี้ผู้ประกอบการขนาดเล็กยังมักมีเงินทุนจำกัด จึงไม่สามารถมีเครื่องจักรได้หลายเครื่อง เครื่องจักรจึงต้องมีความสามารถแบบไม่เฉพาะเจาะจงจนเกินไป แต่ต้องยืดหยุ่นทำงานได้หลากหลาย และทนทาน ส่วนของการซ่อมบำรุง ผู้ประกอบการขนาดเล็กมักไม่มีเวลาในการดูแลเครื่องจักร ดังนั้นเครื่องจักรจึงต้องทนทานเป็นพิเศษ ต้องการการดูแลน้อย เครื่องปิดฝากระป๋องขนาดเล็กที่เป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์อาหทาร นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติเข้าข่ายตามคุณสมบัติข้างบนแล้ว สิ่งสำคัญมากๆ คือมาตรฐานการปิดฝากระป๋อง จะต้องเป็นมาตรฐานสากล เนื่องจากต้องคำนึงถึงการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศในอนาคต เมื่อขยายฐานลูกค้าได้สำเร็จด้วย คุณสมบัติสำคัญของเครื่องจักรที่จำเป็น จากคุณลักษณะของผู้ประกอบการขนาดเล็กที่แตกต่างกับการประกอบการธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ การออกแบบเครื่องจักรให้เหมาะสมกับการใช้งาน จึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้ 1. เครื่องจักรควรจะใช้งานง่าย และซ่อมบำรุงง่ายไม่ต้องใช้ความรู้พิเศษ หรือช่างเทคนิค 2. ความประหยัด เวลาในการดูแลรักษาน้อย มีเวลาในการทำงานมากที่สุด ใช้พลังงานน้อย เนื่องจากเป็นค่าพลังงานจะเกิดขึ้นตลอดเวลาของการเดินเครื่องจักร 3. ควรมีชิ้นส่วนน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น แต่ให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง 4. ควรเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่องเท่าที่ผู้ใช้ต้องการ 5. ปลอดภัยกับผู้ใช้งาน 6. เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม มีการสร้างมลพิษต่ำ 7. ใช้สารหล่อลื่นปริมาณน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการที่สารหล่อลื่นจะไปปนเปื้อนกับอาหาร 8. ทนทาน อายุการใช้งานยืนยาว 9. มีจุดคุ้มทุนที่สั้น ความสำคัญในการออกแบบที่ควรจะมีของเครื่องปิดฝากระป๋องขนาดเล็ก 1. ต้องสามารถสร้างผลการปิด ได้ค่า Double SEAM ตามต้องการ หรือตามมาตรฐานที่ กำหนด 2. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขนาดได้มากทั้งเส้นผ่านศูนย์กลาง และความสูง ตั้ง เครื่องจักรได้ง่าย โดยเฉพาะเครื่องปิดฝากระป๋องขนาดเล็ก ที่ผู้ประกอบการรายย่อยใช้ ในการผลิตสินค้า มักมีการเปลี่ยนขนาด เปลี่ยนรูปแบบของกระป๋องที่บ่อยมาก การสับ เปลี่ยนไปมาของกระป๋อง และฝาแต่ละขนาด ต้องทำได้ง่าย และรวดเร็ว 3. ขนาดต้องไม่ใหญ่โตจนเกินไป 4. ต้องใช้งานง่าย ใช้เวลาในการเรียนรู้การทำงานน้อย โดยไม่ต้องอาศัยช่างเทคนิคพิเศษ 5. เครื่องจักรควรทำงานได้ราบเรียบ แรงสั่นสะเทือนต่ำ มีเสียงรบกวนน้อย ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงเกินความจำเป็นเพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือน ส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ของเครื่องปิดฝากระป๋องขนาดเล็ก คือ 1. โครงสร้าง จะเป็นส่วนที่รูปร่างหน้าตาของเครื่องจักร มีหน้าที่หลากหลาย ใช้เป็นที่ยึดชิ้นส่วนต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน ใช้รับแรง โดยเฉพาะแรงสั่งสะเทือนที่เกิดจากการทำงาน ใช้เป็นที่ติดตั้งเครื่อง 2. ชิ้นส่วนทำงาน จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่หลักที่ต้องการให้เครื่องทำงานตามที่ต้องการ มีส่วน ประกอบ 2 ส่วนหลัก Chuck และตัวขับเคลื่อน ส่วนใหญ่จะมีเพียงเพลาที่ติดกับChuck และขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า Lifter และกลไกการยก Lifter Plate เป็นส่วนที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะหากเป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับกระป๋องโลหะ ที่ต้องการค่า Body Hook ที่ได้มาตรฐาน ข้อที่ควรคำนึงในการเลือกซื้อเครื่องปิดฝากระป๋องขนาดเล็ก 1. ต้องทำงานได้ค่า Double SEAM 2. แข็งแรงทนทาน ใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานในการผลิต 3. มีชิ้นส่วนที่เกิดสนิมเหล็กน้อยที่สุด โดยทั่วไปควรเป็นวัสดุประเภทอลูมิเนียม หรือ Stainless Steel Grade 304, 316 4. หากเป็นระบบกระป๋องหมุน กระป๋องควรหมุนสม่ำเสมอไม่แกว่งไป-มา 5. ความเร็วรอบที่เหมาะสม สำหรับเครื่องแบบกระป๋องหมุน ความเร็วการหมุนของ Chuck i. ไม่ควรเกิน 750 รอบ/นาที สำหรับเครื่องแบบ Manual ii. ไม่ควรเกิน 1,400 รอบ/นาที สำหรับเครื่องแบบ Semi-Automatic หรือ Automatic สำหรับเครื่องแบบกระป๋องอยู่กับที่ (Roller หมุนไปรอบ Chuck) i. ควรคำนึงถึงแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นจากการหมุนของ Roller ต้องไม่เกิดการเหวี่ยงจนเกิดอันตราย ii. ทุกชิ้นส่วนควรทำงานภายใน Guard ที่ป้องกันอันตราย

ดูทั้งหมด
bottom of page